คุณเคยคำนวณบ้างหรือไม่ว่าในแต่ละเดือนครอบครัวของเราจ่ายเงินไปเท่าไรในการซื้อผงซักฟอก น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างรถ หรือน้ำยาทำความสะอาดสารพัดล้าง แล้วสินค้าที่เราซื้อมาใช้นั้นดีจริงอย่างที่เขาโฆษณาหรือเปล่า วันนี้เรามาลองใช้ภูมิปัญญาเพื่อพึ่งพาตนเองกันเถอะ มาทำผลิตภัณฑ์ดีๆ ราคาถูกมากๆใช้เองดีกว่า จะขอเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า "น้ำยาอเนกประสงค์ สูตร 2 พลัง" ซึ่งใช้ซักล้างได้สารพัด ทั้งซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ ทำความสะอาดพื้น ล้างคราบสกปรก และมีพลังขจัดคราบ มากเป็น 2 เท่า คือ ทั้งจากสารขจัดคราบ และ จากกรดในน้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้ ส่วนผสม 1. N 70 หรือ EMAL 270 TH (หัวแชมพู) 1 กก.
2. EMAL 10 P (ผงฟอง) 200 กรัม
3. Sodium chloride (เกลือ หรือ ผงข้น) 500 กรัม
4. น้ำสะอาด 10-11 กก.
5. NEOPELEX F 50 (สารขจัดคราบชนิดเข้มข้น) 500-700 กรัม
(ถ้าเป็นสารขจัดคราบชนิดธรรมดา NEOPELEX F 24 ใช้ 1 กก.)
6.น้ำหมักชีวภาพ(สูตรเนื้อมะกรูด) 2 กก.
(หรือจะใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้รสเปรี้ยวชนิดอื่นๆที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นทดแทนกันได้ เช่น สับปะรด มะเฟือง มะนาว ฯลฯ อ่านข้อมูลเพิ่มเติม การทำน้ำหมักชีวภาพได้ในเรื่องผลไม้ลดโลกร้อน)
7.น้ำหอมกลิ่นตามชอบ(จะไม่ใส่เลยก็ได้)
วิธีทำ
1. ใส่หัวแชมพู ผงฟอง และผงข้นลงในภาชนะ(ควรเทผงฟองต่ำๆเบา ๆ เพราะจะฟุ้ง และสูตรที่ให้นี้จะได้น้ำยาปริมาณมากถึง 15 ลิตร ควรใช้ถังพลาสติกใบใหญ่ๆชนิดก้นเรียบในการผสม)
2. ใช้พายคนส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันให้มากที่สุด(คนประมาณ 5 นาที ส่วนผสมจะเป็นครีมขาว ข้น ฟู คล้ายๆกับครีมแต่งหน้าขนมเค้ก) แต่อาจยังมีเสียงดังแกรก ๆ เหมือนมีเม็ดทรายอยู่เล็กน้อย
3. ค่อยๆเติมน้ำสะอาดลงในส่วนผสมทีละน้อยๆพร้อมกับคนไปเรื่อยๆ ให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน (ถ้าใส่น้ำครั้งเดียวหมด ส่วนผสมจะจับตัวเป็นก้อน คนให้ละลายเข้ากันได้ยากมาก)
4. เมื่อใส่น้ำจนครบตามจำนวนจึงใส่สารขจัดคราบ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน
5. ใส่น้ำหมักชีวภาพ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน(ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้ นาน 3 เดือนขึ้นไป
เมื่อผสมแล้วจะเก็บน้ำยาได้นานเป็นปี ไม่เสียง่าย)
ถ้าไม่มีน้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้ที่หมักจนได้ที่แล้ว แต่ต้องการรีบใช้น้ำยา จะใช้น้ำมะกรูดต้ม หรือน้ำสับปะรดต้ม แทนก็ได้
ทำโดยหั่นผลมะกรูดตามขวางลูกหรือสับสับปะรดให้ละเอียด ผสมกับน้ำสะอาดหรือน้ำซาวข้าวให้ท่วมเนื้อ นำไปต้มจนเปื่อยดี
แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำมาใช้ แต่วิธีนี้ เมื่อผสมเป็นน้ำยาแล้ว จะเก็บไว้ได้นานประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ถ้าเกินกว่านี้ น้ำยาจะมีกลิ่นคล้ายน้ำดองผักหรือผลไม้ ไม่น่าใช้
6. ใส่น้ำหอม คนส่วนผสมให้เข้ากันดี(จะไม่ใส่น้ำหอมเลยก็ได้ ถ้าใช้เป็นน้ำยาล้างจานไม่ควรใส่
น้ำหอมเลย)
7. ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว(ประมาณ 1 คืน)จึงกรอกน้ำยาใสภาชนะเก็บไว้ใช้
หมายเหตุ
ความจริงแล้วน้ำยาทำความสะอาดต่างๆที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆไปนั้น มี ส่วนผสม สูตร และวิธีทำคล้ายๆกัน อาจมีข้อแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เช่น ชื่อของหัวแชมพู ชื่อของสารขจัดคราบ ปริมาณของส่วนผสม เพียงแต่น้ำยาฯ ที่ผลิตขายกันทั่วไปตามท้องตลาดนั้น จะใส่สีและกลิ่นให้ต่างกันออกไป จึงเรียกเป็นน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างรถ ฯลฯ ผู้ใช้จึงคิดว่าน้ำยาแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการทำความสะอาดต่างกันด้วย และน้ำยาต่างๆที่ขายทั่วไปนั้น จะไม่มีส่วนผสมของสารชีวภาพเลย เพียงแต่ใส่สีและกลิ่นเลียนแบบธรรมชาติ(ดูได้จากโฆษณา น้ำยา...กลิ่นมะกรูด กลิ่นมะนาว กลิ่นสตรอเบอรี่)
น้ำยาอเนกประสงค์สูตรที่ให้ไปนี้ สามารถใช้ได้ทั้งซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ ทำความสะอาดพื้น ขอแนะนำว่าน้ำยาอเนกประสงค์ที่เราทำใช้เองไม่จำเป็นต้องใส่สีเลย(ลดการใช้ทรัพยากร ลดการใช้สารเคมี) และการทำน้ำยาสำหรับล้างจานไม่ควรใส่กลิ่น (ลดปริมาณสารเคมีตกค้าง) การทำน้ำยาซักผ้า อาจเลือกใช้กลิ่นที่ชอบและใส่เท่าที่คิดว่าหอมเพียงพอแล้ว ส่วนการทำน้ำยาล้างรถ น้ำยาทำความสะอาดพื้น จะใส่กลิ่นหรือไม่ก็ได้ น้ำหอมแต่ละกลิ่นก็มีราคาถูก-แพงแตกต่างกัน (หรือจะไม่ใส่น้ำหอมเลย แล้วใช้ทุกอย่างก็ได้) สำหรับการขจัดคราบที่สกปรกมาก อาจใส่สารขจัดคราบและน้ำหมักชีวภาพเพิ่มได้อีก แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะกัดมือ ตามสูตรนี้เมื่อผสมเสร็จแล้วจะได้น้ำยาประมาณค่อนถังสีพลาสติกใบใหญ่ ครอบครัวเล็กๆใช้ไปได้หลายเดือนเลย
1. ใส่หัวแชมพู ผงฟอง และผงข้นลงในภาชนะ(ควรเทผงฟองต่ำๆเบา ๆ เพราะจะฟุ้ง และสูตรที่ให้นี้จะได้น้ำยาปริมาณมากถึง 15 ลิตร ควรใช้ถังพลาสติกใบใหญ่ๆชนิดก้นเรียบในการผสม)
2. ใช้พายคนส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันให้มากที่สุด(คนประมาณ 5 นาที ส่วนผสมจะเป็นครีมขาว ข้น ฟู คล้ายๆกับครีมแต่งหน้าขนมเค้ก) แต่อาจยังมีเสียงดังแกรก ๆ เหมือนมีเม็ดทรายอยู่เล็กน้อย
3. ค่อยๆเติมน้ำสะอาดลงในส่วนผสมทีละน้อยๆพร้อมกับคนไปเรื่อยๆ ให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน (ถ้าใส่น้ำครั้งเดียวหมด ส่วนผสมจะจับตัวเป็นก้อน คนให้ละลายเข้ากันได้ยากมาก)
4. เมื่อใส่น้ำจนครบตามจำนวนจึงใส่สารขจัดคราบ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน
5. ใส่น้ำหมักชีวภาพ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน(ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้ นาน 3 เดือนขึ้นไป
เมื่อผสมแล้วจะเก็บน้ำยาได้นานเป็นปี ไม่เสียง่าย)
ถ้าไม่มีน้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้ที่หมักจนได้ที่แล้ว แต่ต้องการรีบใช้น้ำยา จะใช้น้ำมะกรูดต้ม หรือน้ำสับปะรดต้ม แทนก็ได้
ทำโดยหั่นผลมะกรูดตามขวางลูกหรือสับสับปะรดให้ละเอียด ผสมกับน้ำสะอาดหรือน้ำซาวข้าวให้ท่วมเนื้อ นำไปต้มจนเปื่อยดี
แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำมาใช้ แต่วิธีนี้ เมื่อผสมเป็นน้ำยาแล้ว จะเก็บไว้ได้นานประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ถ้าเกินกว่านี้ น้ำยาจะมีกลิ่นคล้ายน้ำดองผักหรือผลไม้ ไม่น่าใช้
6. ใส่น้ำหอม คนส่วนผสมให้เข้ากันดี(จะไม่ใส่น้ำหอมเลยก็ได้ ถ้าใช้เป็นน้ำยาล้างจานไม่ควรใส่
น้ำหอมเลย)
7. ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว(ประมาณ 1 คืน)จึงกรอกน้ำยาใสภาชนะเก็บไว้ใช้
หมายเหตุ
ความจริงแล้วน้ำยาทำความสะอาดต่างๆที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆไปนั้น มี ส่วนผสม สูตร และวิธีทำคล้ายๆกัน อาจมีข้อแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เช่น ชื่อของหัวแชมพู ชื่อของสารขจัดคราบ ปริมาณของส่วนผสม เพียงแต่น้ำยาฯ ที่ผลิตขายกันทั่วไปตามท้องตลาดนั้น จะใส่สีและกลิ่นให้ต่างกันออกไป จึงเรียกเป็นน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างรถ ฯลฯ ผู้ใช้จึงคิดว่าน้ำยาแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการทำความสะอาดต่างกันด้วย และน้ำยาต่างๆที่ขายทั่วไปนั้น จะไม่มีส่วนผสมของสารชีวภาพเลย เพียงแต่ใส่สีและกลิ่นเลียนแบบธรรมชาติ(ดูได้จากโฆษณา น้ำยา...กลิ่นมะกรูด กลิ่นมะนาว กลิ่นสตรอเบอรี่)
น้ำยาอเนกประสงค์สูตรที่ให้ไปนี้ สามารถใช้ได้ทั้งซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ ทำความสะอาดพื้น ขอแนะนำว่าน้ำยาอเนกประสงค์ที่เราทำใช้เองไม่จำเป็นต้องใส่สีเลย(ลดการใช้ทรัพยากร ลดการใช้สารเคมี) และการทำน้ำยาสำหรับล้างจานไม่ควรใส่กลิ่น (ลดปริมาณสารเคมีตกค้าง) การทำน้ำยาซักผ้า อาจเลือกใช้กลิ่นที่ชอบและใส่เท่าที่คิดว่าหอมเพียงพอแล้ว ส่วนการทำน้ำยาล้างรถ น้ำยาทำความสะอาดพื้น จะใส่กลิ่นหรือไม่ก็ได้ น้ำหอมแต่ละกลิ่นก็มีราคาถูก-แพงแตกต่างกัน (หรือจะไม่ใส่น้ำหอมเลย แล้วใช้ทุกอย่างก็ได้) สำหรับการขจัดคราบที่สกปรกมาก อาจใส่สารขจัดคราบและน้ำหมักชีวภาพเพิ่มได้อีก แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะกัดมือ ตามสูตรนี้เมื่อผสมเสร็จแล้วจะได้น้ำยาประมาณค่อนถังสีพลาสติกใบใหญ่ ครอบครัวเล็กๆใช้ไปได้หลายเดือนเลย
การซักผ้าด้วยน้ำยาอเนกประสงค์สูตรน้ำหมักชีวภาพ
เพียงใส่น้ำยาฯลงในน้ำสะอาด(ปริมาณใกล้เคียงกับการใช้น้ำยาซักผ้าทั่วๆไป) แล้วผสมน้ำยาฯให้ละลายเข้ากันกับน้ำ นำผ้าลงแช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที จากนั้นก็ซักเหมือนกับการซักผ้าด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าทั่วๆไป แต่การซักผ้าด้วยน้ำยาอเนกประสงค์สูตรชีวภาพนี้ มีข้อดีกว่าการซักผ้าด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าทั่วๆไปหลายประการ ดังนี้(ได้พิสูจน์มาแล้วทั้งด้วยตัวครูป้าเองและคนรอบข้าง) 1. ทำได้เองในครัวเรือน ราคาถูกกว่า ประหยัดเงินมากกว่า
2. ใช้ง่ายกว่าผงซักฟอก เพราะน้ำยาฯ ละลายน้ำง่ายกว่า
3. ใช้ซักผ้าได้ทั้งแบบซักด้วยมือ และซักเครื่อง(ซักเครื่องจะไม่มีตะกอนแป้งขาวๆติดผ้าเป็นคราบ)
4. ขจัดคราบสกปรกได้ดี เบาแรงขยี้ ถนอมมือ
5. ถึงแช่ผ้าทิ้งไว้ค้างคืน น้ำซักผ้าก็ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า(เพราะไม่มีส่วนผสมของแป้ง)
6. เมื่อผ้าแห้งแล้วจะมีกลิ่นสะอาด ไม่เหม็นอับ
7. แม้ตากผ้าไว้ในที่ร่ม หรือตากผ้าตอนกลางคืน ผ้าก็ไม่มีกลิ่นเหม็น
8. ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ไม่มีแสงแดด ตากผ้าไว้แล้วไม่แห้งภายในวันเดียวผ้าก็ไม่เหม็นอับ
9. เสื้อผ้าที่สวมใส่แล้วจะมีกลิ่นเหม็นน้อยกว่าเสื้อผ้าที่ซักทั่วๆไป(น้ำหมักชีวภาพจะช่วยยับยั้งกลิ่นเหม็น)
10. ถนอมเส้นใยผ้า เสื้อผ้าไม่เก่าเร็ว
11. น้ำทิ้งจากการซักผ้า เมื่อนำไปรดต้นไม้จะโตดี มีโรคและแมลงรบกวนน้อย
12. น้ำทิ้งจากการซักผ้า เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า(เพราะไม่มีส่วนผสมของโซดาไฟ,สีสังเคราะห์)
เพียงใส่น้ำยาฯลงในน้ำสะอาด(ปริมาณใกล้เคียงกับการใช้น้ำยาซักผ้าทั่วๆไป) แล้วผสมน้ำยาฯให้ละลายเข้ากันกับน้ำ นำผ้าลงแช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที จากนั้นก็ซักเหมือนกับการซักผ้าด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าทั่วๆไป แต่การซักผ้าด้วยน้ำยาอเนกประสงค์สูตรชีวภาพนี้ มีข้อดีกว่าการซักผ้าด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าทั่วๆไปหลายประการ ดังนี้(ได้พิสูจน์มาแล้วทั้งด้วยตัวครูป้าเองและคนรอบข้าง) 1. ทำได้เองในครัวเรือน ราคาถูกกว่า ประหยัดเงินมากกว่า
2. ใช้ง่ายกว่าผงซักฟอก เพราะน้ำยาฯ ละลายน้ำง่ายกว่า
3. ใช้ซักผ้าได้ทั้งแบบซักด้วยมือ และซักเครื่อง(ซักเครื่องจะไม่มีตะกอนแป้งขาวๆติดผ้าเป็นคราบ)
4. ขจัดคราบสกปรกได้ดี เบาแรงขยี้ ถนอมมือ
5. ถึงแช่ผ้าทิ้งไว้ค้างคืน น้ำซักผ้าก็ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า(เพราะไม่มีส่วนผสมของแป้ง)
6. เมื่อผ้าแห้งแล้วจะมีกลิ่นสะอาด ไม่เหม็นอับ
7. แม้ตากผ้าไว้ในที่ร่ม หรือตากผ้าตอนกลางคืน ผ้าก็ไม่มีกลิ่นเหม็น
8. ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ไม่มีแสงแดด ตากผ้าไว้แล้วไม่แห้งภายในวันเดียวผ้าก็ไม่เหม็นอับ
9. เสื้อผ้าที่สวมใส่แล้วจะมีกลิ่นเหม็นน้อยกว่าเสื้อผ้าที่ซักทั่วๆไป(น้ำหมักชีวภาพจะช่วยยับยั้งกลิ่นเหม็น)
10. ถนอมเส้นใยผ้า เสื้อผ้าไม่เก่าเร็ว
11. น้ำทิ้งจากการซักผ้า เมื่อนำไปรดต้นไม้จะโตดี มีโรคและแมลงรบกวนน้อย
12. น้ำทิ้งจากการซักผ้า เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า(เพราะไม่มีส่วนผสมของโซดาไฟ,สีสังเคราะห์)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น